วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง

(1)  เรื่องศึกษาระดับการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษากับเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระนอง

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดระนองด้านการบริหารจัดการ เสนอแนะการปฏิบัติงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดระนองด้านการจัดระบบบริหาร และการจัดการในสถานศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระนอง จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดแบบสำรวจรายการ (check list) โดยได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 87 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยเทียบกับเกณฑ์ของเบสต์ (best) ผลการวิจัยพบว่าใน 5 เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารปฏิบัติในระดับมากในด้านการจัดองค์การ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ชุมชน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การมีภาวะผู้นำ เป็นนักบริหาร มีการจัดหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่นตลอดจนการจัดสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้บริหารในตำแหน่งผู้อำนวยการมีการปฏิบัติมาก รองลงมาคืออาจารย์ใหญ่ ส่วนที่มีการปฏิบัติบางส่วนน้อย คือตำแหน่งครูใหญ่ ในด้านการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชมรมศิษย์เก่า ปัญหาที่พบเกี่ยวกับการกระจายอำนาจน้อย การวางแผนยังขาดความชัดเจนทั่วถึงส่วนการระดมทรัพยากรยังไม่เพียงพอ การควบคุม กำกับ ติดตามประเมินผล ยังไม่เป็นระบบ ข้อเสนอแนะ ด้านการกระจายอำนาจมีการกระจายอำนาจให้ผู้ช่วยหรือผู้รักษาการมีการกระจายอำนาจจากหน่วยเหนือด้านงบประมาณ ด้านระบบการวางแผน มีการวางแผนใช้แผนอย่างเป็นระบบ ด้านระดมทรัพยากร อาศัยความร่วมมือจากชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงาน องค์กรเอกชน การควบคุมกำกับติดตามประเมินผล ดำเนินการให้เป็นระบบชัดเจนมีการนำผลการประเมินมาใช้

http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=15801&query=%A1%D2%C3%A8%D1%B4%A1%D2%C3%E3%B9%CA%B6%D2%B9%C8%D6%A1%C9%D2&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-03-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=3

(2) การดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในสถานศึกษา เขตอำเภอเมืองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1



http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=347274&query=%A1%D2%C3%A8%D1%B4%A1%D2%C3%E3%B9%CA%B6%D2%B9%C8%D6%A1%C9%D2&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-03-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=2&maxid=3

(3) ปัจจัยตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิผลต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในการนานโยบายไปปฏิบัติในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัด
http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=475832&query=%A1%D2%C3%A8%D1%B4%A1%D2%C3%E3%B9%CA%B6%D2%B9%C8%D6%A1%C9%D2&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-03-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=3&maxid=3

(4)  การสรรหาและบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจากท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหาร การสรรหา ปัญหาและแนวทางแก้ไขทรัพยากรทางการศึกษาจากท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 85 คน และครูผู้สอนจำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (check list) และแบบสอบถามปลายเปิด (open ended) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequencies) และค่าร้อยละ (percentage) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/for Windows Version 10.0 ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหาร การสรรหา ปัญหา แนวทางแก้ปัญหาในการบริหารและสรรหาทรัพยากรทางการศึกษาจากท้องถิ่น มีดังนี้ 1. สภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจากท้องถิ่น พบว่า ทรัพยากรบุคคลที่เข้ามามี ส่วนร่วมกับสถานศึกษามากที่สุด คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง โดยส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับ สถานศึกษา ในส่วนของการบริหารทรัพยากรเงิน พบว่า สถานศึกษาได้นำทรัพยากรจากท้องถิ่นมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของเงิน และสถานศึกษาได้แต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบทำบัญชีควบคุมใช้จ่ายเงินที่ได้จากท้องถิ่น ในส่วนของการบริหารทรัพยากรทางธรรมชาติ พบว่า สถานศึกษานำทรัพยากรที่เป็นพืชชนิดต่าง ๆ มาใช้ในการศึกษามากที่สุด ในส่วนของการบริหารทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น พบว่า สถานศึกษาใช้การประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาใช้ในการจัดการศึกษามากที่สุด และในส่วนของทรัพยากรทางสังคม พบว่า สถานศึกษาใช้กิจกรรมวันสำคัญของท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา มากที่สุด 2. สภาพการสรรหาทรัพยากรทางการศึกษาจากท้องถิ่น มีกิจกรรมที่ดำเนินการหลากหลาย โดยกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างเด่นชัดมากที่สุด คือ การสรรหาทรัพยากรบุคคล โดยการสำรวจและสอบถามจากผู้รู้ การสรรหาทรัพยากรเงิน โดยการขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธามาเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน การสรรหาทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยการสำรวจและรวบรวมแหล่งธรรมชาติในชุมชนการสรรหาทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยการสำรวจข้อมูลจากชุมชน และการสรรหาทรัพยากรทางสังคม พบว่า สถานศึกษาค้นหาข้อมูล โดยการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน 3. ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจากท้องถิ่น พบว่า การบริหารทรัพยากรบุคคล มีปัญหามากที่สุด คือ สถานศึกษาขาดการวางแผนการใช้ทรัพยากรบุคคล แก้ปัญหาโดยจัดทำโครงการในต้นปีการศึกษาเพื่อจะได้วางแผนได้ชัดเจน ในส่วนของการบริหารทรัพยากรเงิน มีปัญหามากที่สุด คือ เงินมีไม่พอกับการต้องการใช้ แก้ปัญหาโดยการจัดสรรตามความจำเป็นและขอบริจาค ในส่วนของการบริหารทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น มีปัญหามากที่สุด คือ ทรัพยากร ที่มนุษย์สร้างขึ้นในชุมชนที่สอดคล้องกับหลักสูตรมีน้อย แก้ปัญหาโดยการสำรวจแหล่งทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วจัดทำโครงการ ในส่วนของการบริหารทรัพยากรสังคม มีปัญหามากที่สุด คือ ผู้รู้ไม่มีเวลามาให้ความรู้ในสถานศึกษา แก้ปัญหาโดยสำรวจหาผู้มีความรู้ความสามารถ วางแผนการใช้ทรัพยากรทางสังคมและนำนักเรียนไปหาผู้รู้หรือเชิญผู้รู้ในชุมชนใกล้เคียงที่สะดวกและเต็มใจมาให้ความรู้ในสถานศึกษา 4. ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการสรรหาทรัพยากรทางการศึกษาจากท้องถิ่น พบว่า การสรรหาทรัพยากรบุคคล มีปัญหามากที่สุด คือ บุคลากรในท้องถิ่นที่เป็นวิทยากรมาให้ความรู้มีน้อย แก้ปัญหาโดยเชิญมาเป็นวิทยากรแล้วยกย่องให้ความสำคัญ หรือเชิญวิทยากรจากชุมชนใกล้เคียงมาให้ความรู้ ในส่วนของการสรรหาทรัพยากรเงิน มีปัญหามากที่สุด คือ ขาดการสนับสนุนการจากชุมชน เพราะประชาชนมีรายได้น้อย แก้ปัญหาโดยขอบริจาคจากผู้มีทุนทรัพย์ซึ่งอยู่นอกชุมชน และรับบริจาคจากเจ้าภาพงานศพ ในส่วนของการสรรหาทรัพยากรทางธรรมชาติ มีปัญหามากที่สุด คือ ทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่นมีน้อย แก้ปัญหาโดยพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ และขอบริจาคหรือจัดหา มาไว้ที่โรงเรียน ในส่วนของการสรรหาทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น มีปัญหามากที่สุด คือ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นอยู่ห่างจากสถานศึกษา แก้ปัญหาโดยการพานักเรียนไปทัศนศึกษา หรือนำภาพเกี่ยวกับทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ให้ดูและศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด และในส่วนของการสรรหาทรัพยากร ทางสังคม มีปัญหามากที่สุด คือ ชุมชนไม่ค่อยจัดกิจกรรมตามประเพณีหรือทางศาสนา แก้ปัญหาโดย จัดหาวีดีทัศน์ สื่อนวัตกรรมทางการศึกษา มาให้นักเรียนดู หรือค้นคว้าจากห้องสมุดและสอบถามผู้รู้

http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=18&query=%BA%C3%D4%CB%D2%C3%B7%C3%D1%BE%C2%D2%A1%C3&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-03-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=1264

(5)  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหาร ระดับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการ บริหารกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และปัจจัยการบริหารที่ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5 จำนวน 101 โรงเรียน ผู้ตอบ แบบสอบถามประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ครู ผู้สอน และผู้แทนชุมชน มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 598 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ ค่า สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารจำนวน 12 ด้าน คือ ความ ชัดเจนของโครงสร้างองค์การ การนำเทคโนโลยีมาใช้ ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก บรรยากาศที่ดีภายในองค์การ ความ ผูกพันธ์ต่องค์กร ความพอใจในการปฏิบัติงาน ความชัดเจนของการ กำหนดเป้าหมาย การบริหารทรัพยากร สภาพส่งเสริมการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพของกระบวนการติดต่อสื่อสาร มีภาวะผู้นำและการ ตัดสินใจ และการปรับตัวขององค์การและการริเริ่มสิ่งใหม่ และ สอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น จำนวน 5 ด้าน คือ การ ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม การปรับ รายละเอียดของเนื้อหา การจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติม ขึ้นใหม่ การปรับปรุงและเลือกใช้สื่อการเรียนและการจัดทำสื่อ การเรียนขึ้นใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันโพรดัคโมเมนต์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยการ บริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5 พบว่า มีเพียงด้านเดียวที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความ ชัดเจนของโครงสร้างองค์การ รองลงมาตามลำดับ คือ ความชัดเจนของ การกำหนดเป้าหมาย ประสิทธิภาพของกระบวนการติดต่อสื่อสาร การ ปรับตัวขององค์การและริเริ่มสิ่งใหม่ ความพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันธ์ต่อองค์การ ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก บรรยากาศที่ดีภายในองค์การ มีภาวะผู้นำและการตัดสินใจ สภาพแวดล้อมส่งเสริมการปฏิบัติงาน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ 2. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม สามัญศึกษา เขตการศึกษา 5 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากเมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การปรับกิจกรรม การเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม รองลงมา คือ การปรับปรุงและ เลือกใช้สื่อการเรียน นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับ คือ การจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นใหม่ การจัดทำ สื่อการเรียนขึ้นใหม่ และการปรับรายละเอียดของเนื้อหา 3. ปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันใน ระดับสูงและเป็นความสัมพันธ์ทางบวก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาหลักสูตร ท้องถิ่นในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง 1 ด้าน ได้แก่ การปรับ กิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม นอกนั้นมีความ สัมพันธ์กันในระดับปานกลางเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ คือ การจัดทำ สื่อการเรียนขึ้นใหม่ การปรับปรุงและเลือกใช้สื่อการเรียน การ ปรับรายละเอียดของเนื้อหา และการจัดทำคำอธิบายหรือรายวิชา เพิ่มเติมขึ้นใหม่ 4. ปัจจัยการบริหารที่สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5 พบว่า มีตัวพยากรณ์ จำนวน 7 ตัว ที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาหลักสูตร ท้องถิ่น ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขต การศึกษา 5 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ.001 คือ การปรับตัวขององค์การและการริเริ่มสิ่งใหม่ (X12) การ บริหารทรัพยากร (X8) ความผูกพันธ์ต่อองค์กร (X5) การนำ เทคโนโลยีมาใช้ (X2) ความพอใจในการปฏิบัติงาน (X6) ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก (X3) และบรรยากาศที่ดีในองค์การ (X4) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวพยากรณ์ ทั้ง 7 ตัวกับตัวแปรเกณฑ์ เท่ากับ 0.0804 ประสิทธิภาพในการ ทำนายคิดเป็นร้อยละ 64.60

http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=6265&query=%BA%C3%D4%CB%D2%C3%B7%C3%D1%BE%C2%D2%A1%C3&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-03-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=10&maxid=1264

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น